top of page
More About

ชาฤาษี คืออะไร?

  • Writer: phonthanut ploytubtim
    phonthanut ploytubtim
  • Sep 22, 2017
  • 1 min read

ชาฤาษีมีชื่อทางวิทยาศาตร์ว่า Paraboea harroviana (Craib) B.L.Burtt เป็นชาที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติต้นจะขึ้นอยู่ตามผาหินปูน ป่าดงดิบเขาสูง

ชาฤาษีคืออะไรเป็นคำถามที่ผู้เขียนรู้สึกหลังจากได้ยินครั้งแรกจากคุณแม่ ชื่อฟังแล้วดูเก่าแก่และขลังอะไรเช่นนี้ แต่มารู้ภายหลังว่าที่ชาฤาษีนั้นมีหลากหลายชื่อตามแต่พื้นที่จะเรียก บ่งบอกว่าคนไทยเรารู้จักชาฤาษีนั้นมานานแล้ว แต่ยังชื่อเสียงหรืออะไรบางอย่างทำให้ชาฤาษีนั้นไม่เป็นที่รู้จักไปถึงบุคคลทั่วไป

คำถามต่อมาก็คือทำไมถึงชื่อ ชาฤาษีผู้เขียนได้ไปสืบค้นข้อมูลมาจึงพบว่าที่ได้ชื่อชาฤาษีนั้นเป็นเพราะว่าตัวใบชาที่ตากแห้งแล้วลักษณะของใบจะคล้ายกับหนวดของฤาษีจึงเป็นที่มาของชื่อข้างต้น แต่ในต่างพื้นที่ก็มีชื่อเรียกของชาแตกต่างออกไปอย่างเช่น ชาฤาษีเล็ก, เนียมฤาษี, ฝอยหิน, หนาดหิน, ชาข่อย, กานา, ชาญวน, จ๊าข่อย (เหนือ), ชาป่า (ปัตตานี), ผักดุก, ผักดูด(ประจวบฯ) ชาฤาษีจะถูกเก็บเกี่ยวได้แค่ปีละหนึ่งครั้งใน ฤดูฝนเช่นนี้เพราะจะเป็นตอนที่ใบเขียวชะอุ่มมากที่สุด ชาวบ้านจะต้องใช้ความสามารถในการปีนผาสูงขึ้นไปเก็บทั้งบริโภคเองและส่งขายต่อ ชาฤาษีจะสามารถขึ้นตามพื้นที่สูงที่เป็นผาหินปูนเท่านั้น ด้วยคงเป็นเพราะสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยที่สุดในการเจริญเติบโต ทำให้ชาฤาษีเป็นที่ต้องการของบุคคลทั่วๆไปด้วยสรรพคุณของตัวใบที่นำมาตากแห่งแล้วมาชงรับประทานมีคุณค่าหลายประการเช่น บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร แก้นำ้เหลืองเสีย แก้ไตพิการขับปัสสาวะ ลดความดัน แก้โรคไต

อีกชื่อนึงที่มีเสมือนชื่อเล่นของชาฤาษีคือ "ชาคืนชีพ" ทั้งนี้เป็นเพราะถ้าเรานำใบตากแห้งมาต้มในน้ำร้อนตัวใบชาจะกลับมาสด เขียวสดเสมือนกับคืนชีพอีกครั้ง อีกทั้งกลิ่นและรสชาติที่ต้องการ หอมเป็นเอกลักษณ์ทำให้ผู้ที่ได้ดื่มรู้สึกสดชื่นกระปี้กระเป่าดั่งคืนชีพอีกครั้ง ทั้งหมดนี้จึงเป็นที่นิยมในการบริโภค ชาฤาษีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ทางภูคามีความประสงค์ที่จะส่งเสริมพืชชนิดนี้ในการบริโภคให้เป็นที่แพร่หลายเพื่อเป็นการส่งเสริมพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติจะเรียกได้ว่า ออแกนิค 100% เลยทีเดียว อีกทั้งคุณประโยชน์ทีผู้บริโภคจะได้รับจากการดื่มชาฤาษีก็มีมาก เราจึงอยากส่งมอบสิ่งที่เราคิดว่ามีค่าให้กับคุณ

 
 
 

Comments


Featured Posts

Search by Tags

bottom of page